ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

มาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์

มาร์ธา เบียทริซ พอตเตอร์ เวบบ์ (อังกฤษ: Martha Beatrice Potter Webb, พ.ศ. 2401 - พ.ศ. 2486) เป็นนักสังคมนิยม นักเศรษฐศาสตร์ชาวอังกฤษ ทั้งยังได้รับการกล่าวถึงว่าเป็นนักปฏิรูปด้วย และเป็นสมาชิกคนสำคัญของสมาคมเฟเบียน (Fabian Society) ซึ่งเป็นองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นปากเป็นเสียงคุ้มครองผลประโยชน์ให้กับชนชั้นกรรมาชีพโดยตรง

เบียทริซ เวบบ์เกิดเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2401 ตรงกับในรัชสมัยสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย (Queen Victoria, พ.ศ. 2380 - พ.ศ. 2444) ที่เมืองกลอสเตอร์ในมณฑลกลอสเตอร์เชอร์ (Gloucestershire) บิดาของเธอคือริชาร์ด พอตเตอร์ (Richard Potter) เป็นบุคคลที่มีฐานะดีและคุณปู่ของเธอก็เคยเป็นสมาชิกรัฐสภาของอังกฤษด้วย ในวัยเยาว์เบียทริซ เวบบ์ได้รับการศึกษาไม่มากนัก แต่ทว่าเธอก็เป็นเด็กที่ฉลาดสนใจการอ่านหนังสือปรัชญา วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์ ใน พ.ศ. 2426 เบียทริซ เวบบ์ได้เข้าเป็นสมาชิกของสมาคมองค์กรการกุศล (Charity Organization Society : COS) ซึ่งเป็นองค์กรที่พยายามให้ความช่วยเหลือคนยากจน แต่เธอเห็นว่าการทำงานในองค์กรการกุศลไม่ใช่หนทางแก้ปัญหาความยากจน เบียทริซ เวบบ์มองเห็นว่าสาเหตุปัญหาของความยากจน คือ ปัญหามาตรฐานการศึกษาต่ำ ปัญหาการไม่มีที่อยู่ และปัญหาสาธารณสุข

ด้านชีวิตครอบครัว เบียทริซ เวบบ์เคยพลาดหวังเรื่องความรักกับโจเซฟ เชมเบอร์เลน (Joseph Chamberlain) ซึ่งเป็นนักการเมือง ต่อมาเธอได้รู้จักกับซิดนีย์ เวบบ์ (Sidney Webb, พ.ศ. 2402 - พ.ศ. 2490) ซึ่งเป็นนักปฏิรูปสังคม นักประวัติศาสตร์เศรษฐกิจ ทั้งยังเป็นสมาชิกของสมาคมเฟเบียน และได้สมรสกันใน พ.ศ. 2435 ทั้งคู่เป็นบุคคลที่มีบทบาทเคียงข้างกันมาอย่างตลอด จนเบียทริซ เวบบ์ได้รับการกล่าวถึงไว้ว่าเปรียบเสมือนกับ “ลมหายใจของสามีเธอ” บทบาทสำคัญของซิดนีย์และเบียทริซ เวบบ์คือการวางแนวนโยบายสังคมนิยมระยะยาวให้อังกฤษ และผลักดันการก่อตั้ง London School of Economics (LSE) ใน พ.ศ. 2438

ในช่วงครึ่งหลังของคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษมีความเคลื่อนไหวภายในประเทศเป็นอย่างมากทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ประเด็นศึกษาประการหนึ่งที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมากจากนักวิชาการในปัจจุบัน คือ สภาพสังคมของอังกฤษโดยเฉพาะเรื่องความเป็นอยู่ของชนชั้นกรรมาชีพหรือชนชั้นแรงงาน และความเคลื่อนไหวของกลุ่มปัญญาชนเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของชนชั้นดังกล่าวให้มีมาตรฐานที่ดีขึ้น ความเคลื่อนไหวของกลุ่มปัญญาชนที่สมควรกล่าวถึงคือการก่อตั้งสมาคมเฟเบียนใน พ.ศ. 2427 ซึ่งเบียทริซ เวบบ์ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกของสมาคมเฟเบียนเหมือนกับซิดนีย์ เวบบ์สามีของเธอด้วย สมาคมนี้มีบทบาทและเป้าหมายคือ

"เสนอแนวทางปฏิรูปประเทศเพื่อช่วยเหลือประชาชนจำนวนมากที่กำลังได้รับความเดือดร้อนจากระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมและเสรีนิยม ... ยึดหลักการเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป (gradualism) โดยอาศัยกลไกของระบบรัฐสภา และเสนอแนวทางแก้ไขผ่านองค์กรหรือพรรคการเมืองที่มีบทบาทอยู่แล้ว ... เป็นแนวคิดสังคมนิยมที่โดดเด่นที่สุดของอังกฤษในต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20"

แนวความคิดของสมาคมเฟเบียนมีอิทธิพลอย่างมากปฏิรูปสังคมอังกฤษในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผลงานสำคัญของสมาคมคือ Fabian Essays ได้รับการตีพิมพ์ใน พ.ศ. 2432 ซึ่งเป็นการรวบรวมคำบรรยายของสมาชิกของสมาคม โดยมีจอร์จ เบอร์นาร์ด ชอว์ (George Bernard Shaw) เป็นบรรณาธิการ นักเขียนสำคัญคนอื่น เช่น เอช. จี. เวลส์ (H. G. Wells) ซิดนีย์และเบียทริซ เวบบ์ เป็นต้น สมาชิกของสมาคมยังมีบทบาทในการผลักดันการก่อตั้งพรรคแรงงาน (Labour Party) จนสำเร็จใน พ.ศ. 2449 และยังคงเป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทในอังกฤษมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ใน พ.ศ. 2441 ซิดนีย์และเบียทริซ เวบบ์เดินทางไปยังอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์เพื่อศึกษาเรื่ององค์กรปกครองระดับท้องถิ่น เป็นผลให้ทั้งคู่ประสบความสำเร็จในการศึกษาเกี่ยวกับบทบาทและหน้าที่ขององค์กรปกครองระดับท้องถิ่นของอังกฤษ ซิดนีย์และเบียทริซ เวบบ์ยังได้เข้าไปมีบทบาทในการแก้ไขปัญหาคนยากจนที่ดำเนินการโดยรัฐบาลด้วย รัฐบาลได้จัดตั้ง Royal Commission ใน พ.ศ. 2448 เพื่อติดตามการทำงานให้ความช่วยเหลือคนยากจน ซิดนีย์และเบียทริซ เวบบ์ได้รับแต่งตั้งให้เข้าดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการดังกล่าว อย่างไรก็ตามทั้งคู่มีความเห็นขัดแย้งกับคณะกรรมาธิการคนอื่นๆ เป็นเหตุให้ทั้งคู่ออกตีพิมพ์ Minority Report นับเป็น “การปลุกให้สาธารณชนเห็นความสำคัญของหลักการประกันสังคม” นอกจากนี้แล้วเบียทริซ เวบบ์ยังได้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมาธิการเกี่ยวกับกฎหมายคนยากจน (Poor Law Commission) ในช่วง พ.ศ. 2449 - 2452 ด้วย

สองสามีภรรยาตระกูลเวบบ์ได้ร่วมกันก่อตั้งและตีพิมพ์วารสาร New Statesman ซึ่งเป็นวารสารที่เผยแพร่แนวคิดในการปฏิรูปของนักสังคมนิยมคนสำคัญ บทบาทความสำคัญของสามีภรรยาตระกูลเวบบ์คงมีมากขึ้นเรื่อยๆ ตามลำดับ ที่สำคัญประการหนึ่งนั้นเห็นได้จากการที่บ้านของทั้งคู่ในกรุงลอนดอนได้กลายเป็น “สถานที่ชุมนุมของบรรดานักสังคมนิยม” (Socialist Salon) มาในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 เบียทริซ เวบบ์ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมาธิการของรัฐบาลหลายคณะ กระทั่งใน พ.ศ. 2467 ซิดนีย์ เวบบ์ซึ่งเป็นผู้แทนของพรรคแรงงานได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาสามัญ (House of Commons) และได้รับแต่งตั้งเป็นประธานคณะกรรมาธิการการค้า (President of the Board of Trade) และใน พ.ศ. 2472 ซิดนีย์ เวบบ์ได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็นบารอนพาสฟิลด์ (Baron Passfield) จากพระเจ้าจอร์จที่ 5แต่เบียทริซ เวบบ์ผู้เป็นภรรยาปฏิเสธที่จะใช้บรรดาศักดิ์เลดีพาสฟิลด์ (Lady Passfield) ตามสามีของเธอ

การเดินทางอีกครั้งของเบียทริซ เวบบ์ใน พ.ศ. 2475 เบียทริซ เวบบ์พร้อมกับสามีเดินทางไปยังสหภาพโซเวียต (Soviet Union) ครั้งนี้เธอได้เห็นถึงข้อจำกัดในเสรีภาพทางการเมืองของโซเวียตซึ่งเธอรู้สึกไม่ยินดีนัก แต่เบียทริซ เวบบ์ก็รู้สึกชมชอบกับการพัฒนาอย่างรวดเร็วทางด้านสาธารณสุขและการศึกษาของโซเวียตซึ่งจะนำไปสู่ “ความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความเสมอภาคของสตรี” และเธอก็ได้เขียนผลงานเกี่ยวกับโซเวียตไว้ใน ค.ศ. 1935 เบียทริซ เวบบ์ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1943 ตรงกับรัชสมัยพระเจ้าจอร์จที่ 6 (George VI, ค.ศ. 1936-1952) ที่เมืองลิปฮุค (Liphook) มณฑลแฮมป์เชียร์ (Hampshire)

ตลอดเวลาที่เบียทริซ เวบบ์ดำรงชีวิตอยู่ เธอมีผลงานการเขียนแนวสังคมนิยมและเศรษฐศาสตร์มากมาย ทั้งที่เป็นผลงานการเขียนของเธอเองและที่เธอเขียนร่วมกับซิดนีย์ เวบบ์ ผู้เป็นสามี เช่น


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

โดมทองแห่งเยรุซาเล็ม โบสถ์โนเตรอะดาม เซนต์โทมัส อาควีนัส ทัศนศิลป์ ลิแวนต์ อัลจีเรีย อ๊อตโตมาน เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ ฮอลแลนด์ สะฮารา ทัศนคติ สุนทรียภาพ ประสาท วัฒนธรรมบรรษัท นักสังคมวิทยา กลุ่มวัฒนธรรมย่อย วัฒนธรรมย่อย นักวิทยาศาสตร์สังคม เอ็ดการ์ เดอกาส วัฒนธรรมมวลชน มานุษยวิทยาสังคม มานุษยวิทยาวัฒนธรรม นักมานุษยวิทยาสังคม นักโบราณคดี วานรวิทยา ประเพณี นักมานุษยวิทยา วัฒนธรรมนิยม วัฒนธรรมระดับต่ำ วัฒนธรรมระดับสูง สินค้าบริโภค คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร โครงสร้างนามธรรม ประวัติปรัชญาตะวันตก ปรัชญาตะวันตก ลัทธิสโตอิก ม่อจื่อ จวงจื่อ มีมางสา โยคะ สางขยะ ไวเศษิกะ นยายะ มัธยมกะ โยคาจาร เสาตรานติกะ จารวาก คัมภีร์พระเวท สารัตถะ ความเป็นจริง ปรัชญาตะวันออก สุนทรียศาสตร์ จริยศาสตร์ ความงาม คุณธรรม คุณวิทยา อรรฆวิทยา หนูผี พันเจีย สนามแม่เหล็ก เขตกึ่งร้อน ดาวเคราะห์คล้ายโลก บาป (ศาสนาคริสต์) คริสตชน จดหมายถึงชาวฮีบรู ศรัทธาในศาสนาพุทธ การอนุมาน สัมพัทธภาพทางความรู้ การจัดการความรู้ ทุนทางสังคม การลองผิดลองถูก ประสบการณ์ การสังเคราะห์ การวิเคราะห์ ญาณวิทยา ความเข้าใจ อาสวกิเลส อวิชชา เอ็มพีแอลเอส ภาวะถ่ายโอนแบบไม่ประสานเวลา แวน สมาร์ทโฟน ไลน์ (โปรแกรมประยุกต์) แอลทีอี 4 จี 3 จี วีโอไอพี บริการข้อความสั้น ใยแก้วนำแสง ระบบโทรศัพท์ การกล้ำสัญญาณ เนตเวิร์กสวิตช์ เราต์เตอร์ สัญญาณดิจิทัล ซิมเพล็กซ์ สายอากาศ เสาอากาศ แลน

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
235
236
237
238
239
240
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 24022